แม้ว่า กัญชา ( Cannabis ) จะได้รับอนุญาตให้สามารถนำมาปรุงอาหารได้อย่างถูกกฎหมายแล้ว แต่ถือเป็นการปลดล็อกเพียงบางส่วนเท่านั้น หากนำมาใช้ในทางที่ผิดก็มีโทษร้ายแรงเหมือนกันนะคะ
จากเดิมที่ถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 โดยกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้นำส่วนของ “ ใบ ” มาเป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารได้ แต่ “ ช่อดอก และเมล็ด ” ยังถือเป็นยาเสพติด ให้ใช้ประโยชน์ได้เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น
ในอดีต คนไทยนำใบ กัญชา ( Cannabis ) มาใช้ปรุงอาหารมาช้านานแล้ว และถือเป็นสมุนไพรที่ช่วยชูรสให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น โดยมักนิยมใส่ในแกง ก๋วยเตี๋ยว หรืออาหารประเภทผัดต่าง ๆ ซึ่งปริมาณที่ใช้ต่อ 1 หม้อมื้ออาหารจะอยู่ประมาณ 3 ยอด หรือ 5-8 ใบ
สารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ใน กัญชา ( Cannabis )
จากข้อมูลของโรงพยาบาลอภัยภูเบศร ระบุว่าใบ กัญชา ( Cannabis ) จะมีสารออกฤทธิ์สำคัญ ได้แก่ Delta-9-Tetra-Hydrocanabinol ( THC ) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิต และประสาท ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ สารเมา ” และสาร Canabidiol ( CBD ) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิต และประสาท และในต่างประเทศนิยมใช้ในเมนูอาหาร
ทั้งนี้ กัญชา ( Cannabis ) ไทยจะมีสาร THC มากกว่า CBD โดยใบ กัญชา ( Cannabis ) แห้งสายพันธุ์ไทยจะมีปริมาณสาร THC เฉลี่ย 1-2 มิลลิกรัม / ใบ ขณะที่ใบสดของ กัญชา ( Cannabis ) จะมีสาร Tetrahydrocannabinolic Acid ( THCA ) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิต และประสาท แต่หากถูกแสง หรือความร้อนจะทำให้เกิดกระบวกการเปลี่ยนแปลงจากสาร THCA เป็น THC ได้
กัญชา ( Cannabis ) ไม่ได้กินได้ทุกคน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ใบ กัญชา ( Cannabis ) ไม่ได้เป็นสมุนไพรที่สามารถรับประทานได้ในทุกเพศทุกวัย โดยไม่แนะนำในบุคคลดังต่อไปนี้
ส่วนคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าข่ายก็ควรบริโภคในปริมาณน้อย ๆ เช่นกัน โดยแนะนำให้บริโภคไม่เกินวันละ 5 ใบ เพราะหากรับประทานมากกว่า 5 ใบ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น ( หัวใจเต้นเร็ว ), ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน มึนงง วิงเวียน และปวดหัวได้
ทั้งนี้ ผลข้างเคียงจากการกินอาหารที่มีส่วนผสมของ กัญชา ( Cannabis ) เข้าไป จะต้องสังเกตอาการหลังจากรับประทานไปแล้วประมาณ 30-60 นาที แต่อาการจะเด่นชัดขึ้นเมื่อผ่านไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง – 3 ชั่วโมง ซึ่งไม่ควรเริ่มต้นรับประมาณในปริมาณที่มาก และควรรอดูผลหลังจากบริโภคไปแล้วภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่ง กัญชา ( Cannabis ) ยังคงอยู่ในร่างกายได้นาน 6-12 ชั่วโมง แต่อาจจะอยู่ในร่างกายได้นานกว่านั้นหากรับประทานบ่อย ๆ
ดังนั้น คนที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน ควรเริ่มในปริมาณที่น้อย ๆ สักครึ่งใบ – 1 ใบ/วัน ซึ่งจะมีปริมาณสาร THC ประมาณ 1-2.5 มิลลิกรัม ถ้าได้รับปริมาณที่มากกว่านี้ อาจทำให้เกิดอาการสับสน และเสียการทรงตัวได้
และหากพบว่ามีผลข้างเคียงจากการบริโภคอาหารที่มีใบ กัญชา ( Cannabis ) เข้าไป แนะนำให้หยุดทันที และดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือชารางจืด เพื่อบรรเทาอาการมึนเมา หรือหากปากแห้ง คอแห้ง ก็ให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ
กัญชา ( Cannabis ) กินอย่างไรให้ถูกต้อง อร่อย และปลอดภัย
ในการนำใบ กัญชา ( Cannabis ) มาปรุงอาหารนั้น หากเป็นการปรุงอาหารด้วยน้ำจะมีสาร THC ( สารเมา ) ละลายอยู่น้อยมาก ต่างจากการทอดด้วยน้ำมันที่จะส่งผลให้สาร THC จากใบละลายอยู่ในน้ำมันส่วนหนึ่งด้วย หรือหากใช้ระยะเวลาปรุงนานสาร THCA ก็จะเปลี่ยนเป็น THC ได้สมบูรณ์ขึ้น
และหากใช้ใบแห้งซึ่งมีสาร THC อยู่แล้ว เมื่อผ่านความร้อนสูง หรือมีส่วนประกอบไขมันสูง และมีระยะเวลาในการปรุงนาน ก็จะยิ่งทำให้ปริมาณสาร THC เพิ่มขึ้นได้
แต่ถ้าอยากรับประทานให้อร่อย และปลอดภัย แนะนำว่าให้กินใบสด กินเป็นผัก หรือกินเป็นน้ำคั้นสด และควรกินแบบที่ไม่ผ่านความร้อน ๆ นาน ๆ เช่น การใส่ในเมนูผัดเหมือนใบกะเพรา
หากนำใบมาต้มตุ๋นเป็นน้ำแกง แนะนำให้กินแต่น้ำ ไม่กินใบที่ใส่ลงไป หรือถ้านำมาปรุงโดยผ่านความร้อน ก็ไม่ควรกินใบ กัญชา ( Cannabis ) ทั้งใบเกิน 5-8 ใบ/วัน
หากใครอยากลองดื่มผลิตภัณฑ์จาก กัญชา ทาง kleenscannabis ก็ได้นำมาสกัดเป็น เครื่องดื่ม ชากัญชา ( Tea Cannabis ) โฮมเมด มีถึง 2 รสชาติ คือ
ชากัญชา ( Tea Cannabis ) รสชาติน้ำหวานดอกมะพร้าว มีความหวานแบบเบา ๆ ได้รับความหวานจากดอกมะพร้าวที่มีค่าความหวานต่ำที่สุด ดื่มร้อนก็ได้ ดื่มเย็นก็ดี
ดื่ม ชากัญชา ( Tea Cannabis ) โฮมเมด จะมอบความสดชื่นให้กับผู้ดื่มเป็นทางเลือกที่อ่อนโยน และดีต่อสุขภาพ คัดสรรอย่างดี มีกลิ่นหอมช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยให้อารมณ์ดีอีกด้วย
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
บทความที่แนะนำ