คำถามข้างคาใจของใครหลาย ๆ คนคงหนีไม่พ้น ชากัญชา ( Tea Cannabis ) ช่วยในเรื่องโรคมะเร็งหรือไม่ คงเป็นเพราะมีข่าวสารจากในอินเทอร์เน็ตให้ข้อมูล กัญชา ไว้ แต่ความจริงจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันค่ะ
ช่วงที่ผ่านมาเรามักได้ยินเกี่ยวกับประเด็นของการใช้สารสกัดจากต้น กัญชา ( Cannabis ) ในการรักษาโรคมะเร็ง ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า แท้จริงแล้วใบ กัญชา ( Cannabis ) นั้นสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่ และ เพื่อให้คนทั่วไปได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ก็มีแพทย์ประจำศูนย์มะเร็ง ได้อธิบาย พร้อมให้คำแนะนำสำหรับเรื่องดังกล่าวว่า
เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องกระบวนการผลิตยา ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งรวมถึง ยาเคมีบำบัด หรือ คีโมเทอราปี ( Chemotherapy ) ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันก่อนว่า ส่วนหนึ่งของตัวยาเหล่านี้ คือ สารสกัดจากพืชที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิต แล้วนำสารในพืชชนิดนั้นมาสกัดให้เป็นสารบริสุทธิ์ เพื่อนำมาทดลองว่ามีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งแต่ละชนิดอย่างไร
หากสารเคมีจากพืชชนิดนั้นสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ ก็จะนำขึ้นสู่ขั้นตอนการทดลองในสัตว์ เช่น หนูทดลอง ว่ามีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร หลังจากผ่านการทดสอบกับสัตว์ทดลอง จนเป็นที่แน่ชัดว่าสามารถนำมาใช้กับมนุษย์ได้ จึงเริ่มขั้นตอนการทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรก คือ คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หาย ด้วยกระบวนการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน และ คนไข้อาสาสมัครมีความต้องการทดลองรักษาด้วยยาตัวใหม่
เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกจนประสบความสำเร็จด้วยดี จะเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อวัดประสิทธิภาพตัวยา เทียบกับตัวยาที่ใช้ในการรักษาอยู่ในปัจจุบัน หากผลออกมาเป็นที่ยอมรับว่าสามารถรักษาได้จริง และ มีผลข้างเคียงในการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยาตัวนั้นจึงจะถูกขึ้นทะเบียนยาใช้ในการรักษาคนไข้ได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาค้นคว้าทดลองหลายปีกว่าจะสำเร็จ
การวิจัย กัญชา ( Cannabis ) สำหรับใช้รักษาโรคมะเร็งเองก็เช่นเดียวกัน กัญชา ( Cannabis ) เป็นพืชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิต หากคิดว่ามีผลช่วยในการรักษาโรคมะเร็ง จะต้องผ่านกระบวนการค้นคว้าทดลองเช่นเดียวกับการผลิตยาตัวอื่น ๆ เพื่อดูว่ามีผลต่อการรักษาโรคมะเร็งชนิดใดบ้าง จนกว่าจะได้ผลการวิจัยที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับ จึงจะสามารถนำมาใช้ในการรักษาคนไข้โรคมะเร็งในอนาคต
อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ คนไข้ไม่ควรนำ กัญชา ( Cannabis ) มาใช้รักษาโรคโดยพลการ จนกว่าตัวยาจะได้ขึ้นทะเบียนยารับรองอย่างเป็นทางการ หากนำมาใช้โดยขาดความรู้ และ วิธีการรักษาที่ถูกต้องอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไข้เองได้
และเมื่อนำ กัญชา ( Cannabis ) มาสกัดเป็น ชากัญชา ( Tea Cannabis ) ก็ย่อมมีความเจือจางที่ลดลง ทำให้ ชากัญชา ( Tea Cannabis ) นั้นเป็นแค่เครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และได้ประโยชน์ทางอื่นเพียงเท่านั้น
ประโยชน์ของ ชากัญชา ( Tea Cannabis )
หากใครกำลังมองหาเครื่องดื่มผสม กัญชา ( Cannabis ) เราขอแนะนำ ชากัญชา ( Tea Cannabis ) จาก kleenscannabis ซึ่งได้นำมาสกัดเป็น เครื่องดื่ม ชากัญชา ( Tea Cannabis ) โฮมเมด มีถึง 2 รสชาติ คือ
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
บทความที่แนะนำ