ถึงแม้ว่า ในปัจจุบัน ประชาชนจะสามารถใช้ กัญชา ( Cannabis ) กันได้อย่างเสรีแล้ว แต่มีคนในบางกลุ่มอย่าง หญิงตั้งครรภ์ ที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรใช้กัญชา เพราะสาเหตุใด มาติดตามกันครับ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทย ได้มีการปลดล็อค การใช้ กัญชา ( Cannabis ) มากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงในตอนนี้ปี พ.ศ.2565 การใช้ กัญชา ( Cannabis ) ได้มีการอนุญาตให้ใช้ ส่วนต่าง ๆ ของกัญชา ได้มากกว่าเดิม เช่น ในส่วนของ ช่อดอก และเมล็ดของกัญชา รวมถึง การใช้ "สารสกัดจากกัญชา" ตามปริมาณที่กำหนด อีกด้วย
เมื่อการใช้ กัญชา ( Cannabis ) เปิดกว้างมากขึ้น ทำให้หลายคนในประเทศ เกิดความสนใจและต้องใช้ กัญหา หรือผลิตภัณฑ์จากกัญชา มากขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ การใช้ กัญชา ก็ยังมี ข้อระวังในการใช้งานอยู่ โดยบุคลากรทางการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีข้อแนะนำว่า "หญิงตั้งครรภ์" ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง ที่ไม่ควรบริโภคอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มี ส่วนผสมของกัญชา อีกด้วย
ทำไม หญิงตั้งครรรภ์ ไม่ควรบริโภคกัญชา?
รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ สติ-นรีแพทย์ จากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ได้ระบุว่า ไม่แนะนำให้ใช้กัญขาในสตรีตั้งครรภ์ แม้จะเป็นแบบรักษาก็ตาม เนื่องจาก กัญชามีสารเคมีที่ชื่อว่า Tetrahydrocannabinol หรือ สาร THC ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และถึงขั้น เคลิ้ม นอกจากนี้ ยังมีสารเคมีอื่นที่มีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
อีกทั้งยังมี การศึกษา พบว่า กัญชา ทำให้ ระดับฮอร์โมน luteinizing hormone จากต่อมใต้สมองลดลง ซึ่งทำให้ไม่เกิดการตกไข่ แต่กลับมาตกไข่ได้ หลังจากผ่านไป 3-4 เดือน แต่ก็มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่า การได้รับกัญชามาก ๆ จะสัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่ซ้ำลงของไข่เข้าสู่มดลูก ซึ่งอาจส่งผลต่อ การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ความล้มเหลวในการฝังตัวของตัวอ่อนได้ และสารเคมีในกัญชา สามารถผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ขอบคุณข้อมูลจาก chulalongkornhospital.go.th
ทราบถึง ผลกระทบของการใช้ กัญชา ( Cannabis ) สำหรับ หญิงตั้งครรภ์ กันแล้ว เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ของหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้ กัญชา ในทุกรูปแบบ แม้จะเป็นเพื่อการรักษาก็ตาม ทั้งนี้ สตรีให้นมบุตร รวมถึง สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มิได้คุมกำเนิด หรือสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่การควรใช้ กัญชา ( Cannabis ) เช่นเดียวกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม
บทความที่แนะนำ